รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมนำเสนอประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ของ พรบ การรักษาความมั่นคงไซเบอร์ ณ สถานฑูตเนเธอร์แลนด์ 9 เมษา 2562
รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ผอ สถาบันกฎหมายสื่อดิจิทัล
เกษมบัณฑิต อ
ปราชญา อ่อนนาค รองคณบดี
คณะนิติศาสตร์ อ ชลธิชา สมสอาด รองผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมของหน่วยงาน มูลนิธิ
องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ
เรื่อง
แนวทางการติดตามการบังคับใช้ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 2562
ของไทย
หน่วยงานร่วมจัดประกอบด้วย สถานทูตเนเธอร์แลนด์ องค์กรและมูลนิธิระหว่างประเทศ เช่น Manushya
Fooundation , Accessnow, Thainetizen,
APC , FIDH
Session 1 ประเด็นปัญหา ของ พรบ การรักษาความมั่นคงไซเบอร์ (An introduction to the Cybersecurity Bill , นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ)
ผู้นำเสนอ ประกอบด้วย
ดร ภูมิ ภูมิรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (IT
security)
รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ผอ. สถาบันกฎหมายสื่อดิจิทัล
เกษมบัณฑิต
หลังจาก ดร
ภูมิ ได้นำเสนอโครงสร้าง หลักกฎหมาย ที่มา ลักษณะทางเทคนิคของกฎหมายแล้ว
รศ คณาธิป
ได้นำเสนอประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับผลกระทบในแง่สิทธิมนุษยชน โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
โดยหลักของคำนิยามเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ ไม่รวมถึงการโพสต์การแชร์ (Content) เนื่องจากระบุไว้ชัดเจนว่า
เป็นการกระทำโดยใช้โปรแกรม และส่งผลกระทบต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
จึงไม่ใช่กฎหมายที่จะลงโทษผู้เผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาดังเช่น พรบ คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม จากการที่กฎหมายกำหนดว่า ข้อมูลที่เจ้าหน้าที่เข้าถึง
สามารถนำไปเปิดเผยเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายอื่นได้ (มาตรา 70) อาจทำให้การตรวจสอบระบบเพื่อรับมือภัยคุกคามไซเบอร์
ได้มาซึ่งหลักฐานหรือข้อมูลสำหรับความผิดตามกฎหมายอื่นไปด้วย
อำนาจการเข้าถึงข้อมูล
เพื่อการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ มีถ้อยคำที่เขียนไว้กว้าง เช่น ทำสำเนา
สกัดคัดกรอง และยังไม่มีนิยามชัดเจน
อำนาจการสั่งให้ผู้ได้รับผลกระทบ ทำการแก้ไขภัยคุกคามไซเบอร์
อาจครอบคลุมไปถึงการสั่งให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เช่น อุปกรณ์ได้รับ
มัลแวร์ ต้องมีหน้าที่แก้ไขทางเทคนิค
ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปอาจไม่สามารถทำได้ และมีโทษอาญา
แม้ว่ากฎหมายนี้ใช้กับ
ผู้ประกอบการในหมวดโครงสร้างพื้นฐาน (CII) และประชาชนทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจทั่วไปไม่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ก็ตาม แต่ หลังจากเกิดภัยคุกคามไซเบอร์แล้ว คณะกรรมการมี อำนาจการเข้าถึง
ตรวจสอบข้อมูล ฯลฯ ของผู้ได้รับผลกระทบ
ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานเลยก็ได้
แม้ว่ากฎหมายนี้จะกำหนดให้ต้องมีคำสั่งศาล
สำหรับการใช้อำนาจ ของเจ้าหน้าที่ แต่ในกรณี
ภัยคุกคามระดับวิกฤติ
กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจตามกฎหมายสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ซึ่งไม่ได้กำหนดกระบวนการขอคำสั่งศาลไว้ในตัวพระราชบัญญัติ นอกจากนี้
กรณีภัยคุกคามระดับวิกฤติที่เป็นการฉุกเฉิน กฎหมายให้อำนาจคณะกรรมการฯ
ดำเนินการตามที่จำเป็นโดยไม่ต้องขอคำสั่งศาล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น