จากงานเสวนา
กฎหมายกับความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ 1 พย 2557
จัดโดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ดังที่ได้โพสต์สรุปไปแล้วนั้น
มีสำนักข่าวหลายแห่งให้ความสนใจ ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้สื่อข่าวทุกท่าน
พอดีพบว่า มีบางสำนักข่าวได้รายงานสรุปในส่วนที่คณาธิปได้กล่าวไว้
โดยคงจะเป็นการสรุปรวบรัดไปหน่อย
ก็คือ คนพูด พูดไว้ยาวแต่เข้าใจว่าพอเป็นข่าว ก็เลยย่อสั้นลง
และขาดข้อความขยายบางอย่างตามที่พูดไว้นั้น
ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านบางท่านเข้าใจผิดได้
จึงขออนุญาตมาขยายความเพิ่มเติมในที่นี้
จากข่าวตามลิงค์นี้
เมื่ออ่านข่าวแล้วจึงขออนุญาตขยายความที่ทางผู้สื่อข่าวได้สรุปจากที่ผมได้กล่าวในงานเสวนา โดยเฉพาะข้อความที่ว่า
“ไทยยังไม่มีกฎหมายที่กำกับดูแลการเผยแพร่ข่าวโดยเฉพาะ”
กฎหมายกับความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ 1 พย 2557
จัดโดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ดังที่ได้โพสต์สรุปไปแล้วนั้น
มีสำนักข่าวหลายแห่งให้ความสนใจ ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้สื่อข่าวทุกท่าน
พอดีพบว่า มีบางสำนักข่าวได้รายงานสรุปในส่วนที่คณาธิปได้กล่าวไว้
โดยคงจะเป็นการสรุปรวบรัดไปหน่อย
ก็คือ คนพูด พูดไว้ยาวแต่เข้าใจว่าพอเป็นข่าว ก็เลยย่อสั้นลง
และขาดข้อความขยายบางอย่างตามที่พูดไว้นั้น
ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านบางท่านเข้าใจผิดได้
จึงขออนุญาตมาขยายความเพิ่มเติมในที่นี้
จากข่าวตามลิงค์นี้
ข้อความจากที่สื่อได้สรุปมามีดังนี้
อาจารย์คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณบดี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กล่าวในการเสวนาเรื่อง กฎหมายกับความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์
ถึงกรณีความเป็นส่วนตัวกับการทำงานสื่อมวลชนในการเผยแพร่ภาพข่าวว่า ปัจจุบัน
ประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายที่กำกับดูแลการเผยแพร่ข่าวโดยเฉพาะ ดังนั้นหากสื่อมวลชนเผยแพร่ภาพของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงสามารถกระทำได้
โดยไม่ผิดกฎหมายเมื่ออ่านข่าวแล้วจึงขออนุญาตขยายความที่ทางผู้สื่อข่าวได้สรุปจากที่ผมได้กล่าวในงานเสวนา โดยเฉพาะข้อความที่ว่า
“ไทยยังไม่มีกฎหมายที่กำกับดูแลการเผยแพร่ข่าวโดยเฉพาะ”
ขอเพิ่มเติมเกริ่นกล่าวบริบทที่มาของถ้อยคำดังกล่าว เนื่องมาจาก
มีน้องผู้เข้าสัมมนาซึ่งเป็นนักเรียนได้ถามว่า ถ้าเขาไม่อยากให้สื่อมวลชนถ่ายภาพตัวเขาในห้องสัมมนานี้ จะมีกฎหมายคุ้มครองหรือไม่
มีน้องผู้เข้าสัมมนาซึ่งเป็นนักเรียนได้ถามว่า ถ้าเขาไม่อยากให้สื่อมวลชนถ่ายภาพตัวเขาในห้องสัมมนานี้ จะมีกฎหมายคุ้มครองหรือไม่
นับว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในความเป็นส่วนตัว แตกต่างกับเด็กทั่วไปที่ก็คิดว่า
ดีเหมือนกันได้ออกสื่อ
ผมก็เลยตอบไปว่า ในกรณีนี้
(ซึ่งก็คือ การถ่ายภาพของสื่อมวลชน) ไม่ได้มีกฎหมายเฉพาะที่จะกำกับดูแล ซึ่งก็ต้องพิจารณากฎหมายทั่วไปเช่นเดียวกับประชาชนกระทำการถ่ายภาพหรือเผยแพร่ภาพทางสื่อออนไลน์ต่างๆ กล่าวคือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พรบ คอมฯ ดังนั้น
หากสื่อมวลชนถ่ายภาพน้องมาเผยแพร่
โดยเผยแพร่ในลักษณะข้อเท็จจริง (Fact) เฉยๆ ก็ไม่มีความผิดอะไร
และไม่มีกฎหมายที่จะห้ามการกระทำดังกล่าวได้
แต่จากข้อความในข่าวดังที่อ้างอิงลิงค์ให้ดู
คงเป็นเพราะท่านนักข่าวสรุปมาจากที่พูดทั้งหมด ด้วยความรวบรัด
ประกอบกับหัวข้อข่าวที่ว่า
"นักวิชาการชี้ไทยไม่มีกม.กำกับการเผยแพร่ข่าว"
จนอาจทำให้ผู้อ่านบางท่านเข้าใจไปว่า
ไม่มีกฎหมายกำกับการแพร่ข่าวเลย
คงเป็นเพราะท่านนักข่าวสรุปมาจากที่พูดทั้งหมด ด้วยความรวบรัด
ประกอบกับหัวข้อข่าวที่ว่า
"นักวิชาการชี้ไทยไม่มีกม.กำกับการเผยแพร่ข่าว"
จนอาจทำให้ผู้อ่านบางท่านเข้าใจไปว่า
ไม่มีกฎหมายกำกับการแพร่ข่าวเลย
(ซึ่งในความจริงแล้ว มี พรบ
เฉพาะเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าว
แต่เป็นกรณีเฉพาะสื่อ เช่น
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สำหรับในส่วนของ หนังสือพิมพ์มี พรบ จดแจ้งการพิมพ์ เป็นต้น)
แต่ในส่วนที่ผมตอบ คือเฉพาะในเรื่องของสื่อมวลชน กับการ ถ่ายภาพตามคำถามของผู้สัมมนาท่านนั้นเท่านั้นเองครับ
จริงๆแล้วไม่ได้มีเจตนาจะว่าผู้สื่อข่าวนำเสนอผิดพลาด
เพียงแต่เข้าใจว่าผู้สื่อข่าวนำเฉพาะบางส่วนจากการตอบคำถามมานำเสนอ
จึงขาดข้อความแวดล้อมที่สำคัญไป
จึงขอขยายความเพิ่มเติมเป็นหมายเหตุข่าวไว้ ณ ที่นี้
ขอบคุณครับ
คณาธิป ไทยไพรเวซี่
แต่เป็นกรณีเฉพาะสื่อ เช่น
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สำหรับในส่วนของ หนังสือพิมพ์มี พรบ จดแจ้งการพิมพ์ เป็นต้น)
แต่ในส่วนที่ผมตอบ คือเฉพาะในเรื่องของสื่อมวลชน กับการ ถ่ายภาพตามคำถามของผู้สัมมนาท่านนั้นเท่านั้นเองครับ
จริงๆแล้วไม่ได้มีเจตนาจะว่าผู้สื่อข่าวนำเสนอผิดพลาด
เพียงแต่เข้าใจว่าผู้สื่อข่าวนำเฉพาะบางส่วนจากการตอบคำถามมานำเสนอ
จึงขาดข้อความแวดล้อมที่สำคัญไป
จึงขอขยายความเพิ่มเติมเป็นหมายเหตุข่าวไว้ ณ ที่นี้
ขอบคุณครับ
คณาธิป ไทยไพรเวซี่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น