รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมเสวนา "โดรน" (Drone) กับประเด็น สิทธิส่วนบุคคล จัดโดย ETDA 29 สค 58



สิงหาคม 2558 กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับ โดรนได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

กฎหมายนี้ เป็นประกาศกระทรวง ซึ่งออกตามความ พรบ การเดินอากาศ  2497

ซึ่ง พรบ นี้ กำหนดให้มีกฎหมายลำดับรองกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ อากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน  

กว่าจะมี ประกาศกระทรวง ก็ล่วงมาถึงปี  2558

โดรน   ก็จัดอยู่ในความหมายนี้  


สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้จัดงานสัมมนาในวันที่ 29 สค 58

หลังจาก กม ใหม่ประกาศใช้เพียงสองวัน 

หัวข้องาน creative จริงๆครับ
 "ใช้โดรน (Drone) อย่างไร ให้โดนใจ ไม่โดนดี"



วิทยากรประกอบด้วย
+  นาวาอากาศเอก นรินทร์ อรัญพูล            โรงเรียนนายเรืออากาศ                      
            
+  คุณสรณคมน์ บัวพึ่งน้ำ                          ผู้ช่วยหัวหน้าข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

+  รศ. คณาธิป ทองรวีวงศ์                        คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น  

ดำเนินรายการโดย

+  พ.ต.ท.หญิง จีรบูรณ์ บำเพ็ญนรกิจ         ผู้อำนวยการสำนักโครงการพิเศษ สพธอ.  
   












โดรน  ที่พูดถึงนี้ หมายถึงเฉพาะ โดรนที่ใช้ในลักษณะงานอดิเรก หรืองานอาชีพเช่น ช่างภาพ สื่อมวลชน ฯลฯ

ไม่รวมถึง โดรน ทางทหาร ที่ใช้ในการรบ 

หลักสำคัญของประกาศฉบับนี้มีดังนี้ 

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. ๒๕๕๘

ข้อ ๔ อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกตามประกาศนี้แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
(๑) ประเภทที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา แบ่งออกเป็น ๒ ขนาด คือ
(ก) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน ๒ กิโลกรัม
(ข) ที่มีน้ำหนักเกิน ๒ กิโลกรัมแต่ไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม
(๒) ประเภทที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจาก (๑) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม ดังต่อไปนี้
(ก) เพื่อการรายงานเหตุการณ์หรือรายงานการจราจร (สื่อมวลชน)
(ข) เพื่อการถ่ายภาพ การถ่ายทำหรือการแสดงในภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์
(ค) เพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน
(ง) เพื่อการอื่น ๆ
โดรน ที่ใช้ เป็นงานอดิเรก สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่สื่อมวลชน
อยู่ภายใต้ 4  (1)
ผลแยกได้สองกรณี
 กรณีแรก        ไม่เกิน 2  กก  ขออนุญาต
 กรณีสอง       2  กก- 25 กก  จดทะเบียน

โดรน  ที่จัดอยู่ในนิยามกฎหมายนี้ ว่า  อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก  จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตามเงื่อนไขต่างๆ แบ่งเป็น ก่อนบิน และ ระหว่างบิน

ก่อนทำการบิน
                    ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน
                    ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ที่จะทำการบิน
                    ทำการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทำการบิน
                    มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสำหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และ การแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได
ระหว่างบิน
                    ห้ามทำการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น
                    ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน
                    ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกินเก้าสิบเมตร (สามร้อยฟุต) เหนือพื้นดิน
                    ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
                    ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
                    ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
                    ห้ามทำการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญ แก่ผู้อื่น
                    ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน
                    ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต) 


ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับ โดรน อาจแบ่งเป็นสองกรณีคือ

กรณี กฎหมายเกี่ยวกับการเดินอากาศ  

กรณี กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากโดรน


รศ  คณาธิป ทองรวีวงศ์   ได้ชี้ให้เห็นประเด็นปัญหากฎหมายต่างๆ

 โดยเน้นในส่วนของการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคล 

  ซึ่งสามารถชมคลิปได้ตามลิงค์

 https://www.youtube.com/watch?v=FYM-JwklHBc



ความคิดเห็น